พันธกิจ และวิสัยทัศน์

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททําให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทักษะในเรื่องวิชาความรู้นั้นไม่เพียงพออีกต่อไปสำหรับการปรับตัวในสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ทักษะทางอารมณ์และสังคมจึงเป็นสิ่งสําคัญ อย่างยิ่งสําหรับลูกน้อย เพื่อก้าวไปสู่สังคมแห่ง การเปลี่ยนแปลงได้อย่างเข้มแข็งและเท่าทัน

เริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก

การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีจะต้องได้รับการปลูก ฝังตั้งแต่ช่วงวัยเด็กที่เปรียบเหมือนต้นกล้าอ่อนๆ เราจึงควรส่งเสริมให้เด็กมีทัศนคติที่ดีในการ ใช้ชีวิต ไม่กลัวที่จะลองทําสิ่งใหม่ๆ ไม่ท้อถอย ในการทําสิ่งที่ยาก และมีความพยายามที่จะทําให้ประสบผลสําเร็จ รวมทั้งเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเอง สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้

LEARN THROUGH

เมื่อธรรมชาติของเด็กคือการเล่น การเรียนรู้ผ่านการเล่น จึงทําให้เด็กๆ เรียนรู้ได้อย่างสนุกสนาน และเข้าถึงสิ่งที่เรียนได้ง่าย SELF จึงออกแบบเนื้อหาบทเรียน ผ่านกิจกรรมสนุกๆ ให้เด็กๆ ได้ลงมือ ทํา เพื่อให้เด็กๆ ได้สํารวจความรู้สึก ของตนเอง เรียนรู้ที่จะสังเกตและทํา ความเข้าใจกับความรู้สึกของผู้อื่น เรียนรู้ที่จะควบคุมตนเอง รู้จักรอคอย และยับยั้งชั่งใจ ปฏิบัติตามกฎกติกา ตลอดจนให้ความร่วมมือในการจัดการ ปัญหาแบบทีมเวิร์ก การเรียนรู้ผ่านการเล่นจะทําให้เด็กๆ จดจําและทําความเข้าใจเนื้อหาที่เรียน ในรูปแบบของพฤติกรรมแทน

 

เพื่อเสริมสร้าง
  • ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ทําให้มีผลการ เรียนดีขึ้น
  • ทักษะทางสังคม ด้วยกระบวนการกลุ่ม ผ่านการทํากิจกรรมต่างๆ
  • ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-esteem)
  • ความยับยั้งชั่งใจ (Self-Control)
  • ความเข้าใจในความรู้สึกผู้อื่น ผ่าน สถานการณ์จําลอง (Social Thinking)
  • บุคลิกภาพที่ยืดหยุ่นและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ (Resilience)
  • การจัดการกับอารมณ์ตนเอง
  • กรอบความคิดแบบเติบโต (Growth mindset)

เพื่อป้องกัน
  • ความเครียด ความวิตกกังวลในเด็ก
  • การรังแกกันในกลุ่มเพื่อน
  • อารมณ์รุนแรง
  • อาการซึมเศร้า
เพื่อลดทอน
  • พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ เช่น ก้าวร้าว, โกหก, ต่อต้าน, ขาดความมั่นใจ ฯลฯ

“My Wrinkled Heart หัวใจที่บอบช้ํา”

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของ ผู้อื่น (empathy) ให้กับเด็กๆ ในกิจกรรมเด็กๆ จะได้เรียนรู้ความสําคัญของ การคิดก่อนพูดหรือทําสิ่งต่างๆ เพื่อจะได้ไม่ทําร้ายความรู้สึกของคนรอบข้าง

ก่อนเริ่มกิจกรรมคุณครูจะแจกกระดาษรูปหัวใจให้กับเด็กๆ กระดาษดังกล่าวจะแทนหัวใจของเด็กๆ จากนั้นคุณครูจะเล่าเรื่องราวของเด็ก คนหนึ่งที่ถูกเพื่อนล้อ ทุกครั้งที่ถูกล้อหรือแกล้งคุณครูจะให้เด็กๆ ทํารอย หรือขยํากระดาษรูปหัวใจดังกล่าว และเมื่อคุณพ่อคุณแม่หรือเพื่อนๆ มาปลอบ หรือขอโทษ คุณครูก็จะให้เด็กๆ ช่วยกันคลี่กระดาษรูปหัวใจออกมา ในท้ายกิจกรรม เด็กๆ จะเห็นว่าเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะทําให้หัวใจเรียบและไร้รอยดังเดิม

“My Angry Volcano ภูเขาไฟแห่งความโกรธ”

โกรธ หงุดหงิด ฉุนเฉียวเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งในเด็กและ ผู้ใหญ่ ความโกรธไม่ใช่เรื่องผิด หากแต่การจัดการกับความโกรธที่ไม่เหมาะสม dางหาก ที่กลายมาเป็นปัญหาผ่อนเองและผู้อื่น

ในกิจกรรมนี้เด็กๆ จะได้สํารวจอารมณ์โกรธผ่านตัวละครในนิทาน และ คุณครูจะมีคําถามระหว่างที่ฟังนิทานเพื่อช่วยให้เด็กได้เชื่อมโยงและคิดวิเคราะห์ เช่น หนูรู้ได้อย่างไรว่าเด็กคนนั้นกําลังโกรธ หนูคิดว่าอะไรที่ทําให้เด็กคนนั้นโกรธ รวมถึงให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วิธีการจัดการกับความโกรธที่เหมาะสม

จากนั้นให้เด็กประดิษฐ์ภูเขาไฟความโกรธของตนเอง โดยการเขียนสิ่งที่ทําให้เขา โกรธไว้บนลาวาที่พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ และนําผลงานมาแสดง โดยมีการ แลกเปลี่ยนเรื่องราวความโกรธของตนเองกับเพื่อนๆ เพื่อเรียนรู้ว่าคนเรามีเรื่อง ที่ทําให้โกรธแตกต่าง